5 ways raising critical thinkers
การสร้างลูกให้เป็นนักคิดวิเคราะห์ไม่ยากอย่างที่คุณคิด! เทคนิคการเลี้ยงลูก 5 วิธีนี้จะช่วยให้ลูกของคุณเป็นนักคิดที่ถ้วนถี่ และรอบคอบ ให้ลูกได้เรียนรู้ศิลปะการตั้งคำถามด้วยเคล็ดลับเหล่านี้
เมื่อพูดถึงเรื่องการคิดวิเคราะห์ในอดีต คงไม่มีที่ไหนที่น่าศึกษาไปกว่ายุคสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อน โสกราติส นักปรัชญาชาวกรีกที่มีชื่อเสียง ได้สร้างแนวคิดเรื่องการคิดวิเคราะห์ขึ้นมา
เขาอธิบายว่า ถึงแม้จะเป็นผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่ หรือครู ก็ไม่เสมอไปว่าจะสามารถให้คำตอบกับเราได้ทุกอย่าง ดังนั้นการที่เราต้องตั้งคำถามและตรวจสอบก่อนที่จะยอมรับความคิดเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เขาสนับสนุนให้มองหาหลักฐานและไม่ทำตามกลุ่ม หรือตามกระแสโดยไม่ตรึกตรองก่อน
แม้ว่านักปรัชญาหรือนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าการตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญ วิธีการเลี้ยงลูกแบบเดิมๆมักไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การตอบคำถามในรูปแบบนี้นัก ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกขออนุญาตอยู่ดึกเพื่อทำกิจกรรมต่อในโรงเรียน พ่อแม่ก็แค่บอกว่า “ไม่ได้ มันดึกเกินไป”
แม้ว่าพ่อแม่จะคิดว่าเขารู้ดีที่สุดสำหรับลูกของเขา พ่อแม่ไม่น้อยมักใช้การเลี้ยงลูกแบบสั่งการโดยไม่ให้เหตุผล ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ช่วยในพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของลูก
ทำไมพ่อแม่คือคนสำคัญในการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ให้ลูก
โสกราติสคงคาดไม่ถึงว่า การคิดวิเคราะห์จะมีความสำคัญได้มากขนาดนี้ใน 2,000 กว่าปีต่อมา ด้วยสภาพผู้คนที่พลุกพล่าน ทะเลข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียที่ท่วมล้น ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์จึงมีความจำเป็นมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาในอดีต
แม้ว่าโรงเรียนจะสอนบทเรียนที่มีสำคัญๆให้นักเรียนจดจำ แต่ก็อาจไม่ได้เน้นการเรียนรู้วิธีคิดวิเคราะห์นอกห้องเรียนมากนัก จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการสอนลูกให้ตั้งคำถาม ประเมินปัจจัย และแสดงมุมมองของตนเองตลอดจนการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน
5 วิธีง่าย ๆ ช่วยส่งเสริมนักคิดวิเคราะห์ตัวน้อย
การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะและนิสัยการคิดที่สามารถระบุปัญหา แยกแยะสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย และตัดสินใจได้ มันยังรวมถึงความสามารถในการคิดอย่างเปิดกว้างและพิจารณามุมมองของผู้อื่นได้ด้วย
พ่อแม่ย่อมรู้อยู่แล้วว่าอะไรดีที่สุดสำหรับลูก แต่รู้หรือไม่ว่าการตัดสินใจแทนลูกจะลดทอนความสามารถของลูกในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ในอนาคต
โชคดีที่มีเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อที่ช่วยให้พ่อแม่สร้างนักคิดอิสระและมีเหตุผลได้
1. แทนที่คำว่า “ไม่” ด้วย “ขอเหตุผลหน่อยทำไมต้องเชื่อแบบนั้น”
แทนที่จะบอกลูกว่า “ไม่” ให้ลองถามเหตุผลที่พวกเขาต้องการสิ่งนั้น ชวนลูกให้อธิบาย ข้อดีข้อเสีย และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มุมมองของพวกเขาอาจทำให้คุณเข้าใจเขามากขึ้น
จากตัวอย่างที่ลูกขออยู่ดึกเพื่อทำกิจกรรมที่โรงเรียน เมื่อขอเหตุผล พ่อแม่อาจได้คำตอบจากลูกเช่น
ลูกเข้าใจว่ามันดึก แต่มันเป็นงานครั้งสุดท้ายก่อนส่งแล้ว มันสำคัญกับลูกและทีมมาก เขาจะตั้งนาฬิกาปลุกและตื่นเองตอนเช้าวันรุ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ลูกจะได้เรียนรู้และเข้าใจผลที่จะตามมาและรับผิดชอบผลของการตัดสินใจจากการคิดวิเคราะห์ของเขาเอง
2. เปิดโอกาสให้ลูกพบกับประสบการณ์และการศึกษาใหม่ๆบ้าง
ชีวิตที่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและกิจวัตรที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้สอนลูกให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ให้ลูกมีโอกาสทำกิจกรรมใหม่ๆ ออกไปเที่ยวหรือทดลองทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน
3. ขอความคิดเห็นจากลูกเสมอ
ลูกของคุณจะรู้สึกเป็นคนสำคัญ มีพลัง เคารพ และเชื่อถือคุณ หากคุณถามความคิดเห็นของพวกเขาบ่อยๆ เริ่มได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆหรือแม้จะเป็นเรื่องใหญ่ ลูกจะได้ฝึกฝนทักษะในสถานการณ์ใหม่ๆ
4. อย่าตำหนิปัญหาของพวกเขา
การแก้ไขปัญหาและข้อขัดแย้งสอนให้ลูกมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ลองปล่อยให้ลูกแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและเรียนรู้จากความขัดแย้ง โดยที่ยังอยู่ในสายตาของคุณ ถือว่าเป็นการฝึกฝนตัวเค้าเอง อย่างไรเสียวันนึงเค้าก็ต้องเผชิญสิ่งนี้
5. ถามลูกว่า “ใครเป็นผู้พูด” จะช่วยให้เขาคิดคำนึงถึงอีกด้านหนึ่งของเรื่องราว
อธิบายให้ลูกฟังว่า:
- มีมากกว่าหนึ่งด้านของเรื่องราวเสมอ
- มันเป็นเรื่องปกติที่จะตั้งคำถาม
- หากมีสิ่งใดที่รู้สึกไม่ถูกต้องหรือทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ให้เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง
ความคิดเห็นของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้
การคิดวิเคราะห์เป็นการเปิดใจรับความคิดใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นตามข้อมูลใหม่ๆ ส่งเสริมให้ลูกแก้ไขปัญหาในวิธีใหม่ๆ และเข้าใจว่าเราทุกคนมีพื้นความรู้ วัฒนธรรม และตระหนักในความจริงที่แตกต่างไม่เท่ากัน
ข้อคิดสุดท้ายเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกให้เป็นนักคิดวิเคราะห์
เคล็ดลับง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างลูกที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ นั่นคือการฝึกนิสัยให้ลูก “อธิบายเหตุผล” แทนที่จะปฏิเสธพวกเขาทันที
โสกราติสคงจะภูมิใจหากรู้ว่าพ่อแม่กำลังสอนลูกให้เป็นคนที่ช่างสงสัย แข็งแกร่ง และรู้จักตัวเอง