Categories
Posts

ทักษะแห่งอนาคต เริ่มต้นจากวัยเด็ก

🌟 ทักษะแห่งอนาคต เริ่มต้นจากวัยเด็ก 🌟

จากรายงาน The Future of Jobs Report 2025 ของ World Economic Forum ตลาดแรงงานในอนาคตจะเน้นที่ ทักษะหลากหลาย และ การปรับตัว มากกว่าทักษะเชิงเดี่ยว 🎯

👉 การศึกษาในวัยเด็กจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะชีวิต เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น

🎲 การเล่นอย่างอิสระ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะสนุกแล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะสำคัญ เช่น การสื่อสาร การปรับตัว และการแก้ปัญหา ทักษะเหล่านี้คือกุญแจสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่

🤝 ทักษะสังคมก็สำคัญไม่แพ้กัน การเตรียมความพร้อมให้เด็กตั้งแต่ช่วงประถมศึกษา ช่วยปูพื้นฐานทั้งด้านวิชาการและการเข้าสังคม สร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคต 🌱

ที่มา: World Economic Forum

#FutureOfWork #การศึกษา #พัฒนาทักษะ #CMSBangna

Categories
Posts

แนะนำโครงการ Free for All พัฒนาทักษะสู่คณิตศาสตร์โอลิมปิค

หากน้องๆกำลังมองหาวิธีการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากบทเรียนในห้องเรียน ต้องการเรียนรู้แนวทางการคิด การวางแผนการทำโจทย์ โดยเฉพาะเมื่อต้องแก้โจทย์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทาง CMS Bangna ขอแนะนำโครงการดีๆ Free for All บน YouTube Channel ที่ผู้ทำ ตั้งใจถ่ายทอดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้กับผู้ที่สนใจทุกท่าน โดยไม่เพียงแค่การแชร์เทคนิคเด็ดๆในการทำโจทย์ แต่ยังได้เสริมกระบวนการคิด กลยุทธ์ และแง่คิดที่อาจไม่ใครเคยเปิดเผยมาก่อน ทางเพจเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้น้องๆผู้ที่สนใจเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์

โครงการ Free for All คืออะไร?

Free for All เป็นโครงการที่ริเริ่มร่วมกันโดย พี่พัดลม ทยากร สุวานิช (ผู้ได้รับเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิคนานาชาติ IMO 2023) และ พี่โซดา ชลสิทธิ์ อภิลาศมงคล โดยมีเป้าหมายในการนำเสนออีกด้านหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่มักไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือ กระบวนการคิด ที่เค้าทั้งสองเชื่อว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงในโอลิมปิกคณิตศาสตร์ก็คือ การพัฒนากระบวนการคิด ไม่ใช่เป็นแค่การเติมคลังความรู้ของเราด้วยเทคนิคการทำโจทย์เท่านั้น

ทำไมถึงควรติดตาม Free for All?

ในโครงการ Free for All จะมีการเผยแพร่คลิปวีดีโอการทำโจทย์จากที่ต่างๆ ที่เห็นว่าสนุกและน่าสนใจ โดยมีระดับความยากแตกต่างกัน เช่น สอวน. หรือระดับ AMC รวมถึง TMO AIME ถึง IMO ข้อ 1-4 หรือบางครั้งอาจถึงระดับ IMO ข้อ 3 – 6 (ข้อยาก)  เพื่อให้ทุกคนในทุกระดับทักษะ สามารถเรียนรู้ ถึงมุมมองการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกในมุมมองที่ต่างออกไปและเพลิดเพลินกับโลกของคณิตศาสตร์มากขึ้น

ความถี่ในการอัพโหลดคลิป

เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน จึงตั้งเป้าหมายที่จะโพสต์วิดีโอ สองคลิปต่อสัปดาห์ ซึ่งจะประกอบด้วยคลิปภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับปัญหาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ชมจากหลากหลายพื้นฐานสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามที่ต้องการ

เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้ ด้วยมุมมองโลกคณิตศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร และติดตามเรียนรู้ไปพร้อมกับพวกเขาใน Free for All

Categories
Posts

5 เคล็ดลับสร้างลูกให้เป็นนักคิดวิเคราะห์

5 ways raising critical thinkers

  การสร้างลูกให้เป็นนักคิดวิเคราะห์ไม่ยากอย่างที่คุณคิด! เทคนิคการเลี้ยงลูก 5 วิธีนี้จะช่วยให้ลูกของคุณเป็นนักคิดที่ถ้วนถี่ และรอบคอบ ให้ลูกได้เรียนรู้ศิลปะการตั้งคำถามด้วยเคล็ดลับเหล่านี้

เมื่อพูดถึงเรื่องการคิดวิเคราะห์ในอดีต คงไม่มีที่ไหนที่น่าศึกษาไปกว่ายุคสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อน โสกราติส นักปรัชญาชาวกรีกที่มีชื่อเสียง ได้สร้างแนวคิดเรื่องการคิดวิเคราะห์ขึ้นมา

เขาอธิบายว่า ถึงแม้จะเป็นผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่ หรือครู ก็ไม่เสมอไปว่าจะสามารถให้คำตอบกับเราได้ทุกอย่าง ดังนั้นการที่เราต้องตั้งคำถามและตรวจสอบก่อนที่จะยอมรับความคิดเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เขาสนับสนุนให้มองหาหลักฐานและไม่ทำตามกลุ่ม หรือตามกระแสโดยไม่ตรึกตรองก่อน

แม้ว่านักปรัชญาหรือนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าการตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญ วิธีการเลี้ยงลูกแบบเดิมๆมักไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การตอบคำถามในรูปแบบนี้นัก ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกขออนุญาตอยู่ดึกเพื่อทำกิจกรรมต่อในโรงเรียน พ่อแม่ก็แค่บอกว่า “ไม่ได้ มันดึกเกินไป”

แม้ว่าพ่อแม่จะคิดว่าเขารู้ดีที่สุดสำหรับลูกของเขา พ่อแม่ไม่น้อยมักใช้การเลี้ยงลูกแบบสั่งการโดยไม่ให้เหตุผล ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ช่วยในพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของลูก

ทำไมพ่อแม่คือคนสำคัญในการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ให้ลูก

โสกราติสคงคาดไม่ถึงว่า การคิดวิเคราะห์จะมีความสำคัญได้มากขนาดนี้ใน 2,000 กว่าปีต่อมา ด้วยสภาพผู้คนที่พลุกพล่าน ทะเลข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียที่ท่วมล้น ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์จึงมีความจำเป็นมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาในอดีต

แม้ว่าโรงเรียนจะสอนบทเรียนที่มีสำคัญๆให้นักเรียนจดจำ แต่ก็อาจไม่ได้เน้นการเรียนรู้วิธีคิดวิเคราะห์นอกห้องเรียนมากนัก จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการสอนลูกให้ตั้งคำถาม ประเมินปัจจัย และแสดงมุมมองของตนเองตลอดจนการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน

5 วิธีง่าย ๆ ช่วยส่งเสริมนักคิดวิเคราะห์ตัวน้อย

การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะและนิสัยการคิดที่สามารถระบุปัญหา แยกแยะสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย และตัดสินใจได้ มันยังรวมถึงความสามารถในการคิดอย่างเปิดกว้างและพิจารณามุมมองของผู้อื่นได้ด้วย

พ่อแม่ย่อมรู้อยู่แล้วว่าอะไรดีที่สุดสำหรับลูก แต่รู้หรือไม่ว่าการตัดสินใจแทนลูกจะลดทอนความสามารถของลูกในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ในอนาคต

โชคดีที่มีเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อที่ช่วยให้พ่อแม่สร้างนักคิดอิสระและมีเหตุผลได้

1. แทนที่คำว่า “ไม่” ด้วย “ขอเหตุผลหน่อยทำไมต้องเชื่อแบบนั้น”

แทนที่จะบอกลูกว่า “ไม่” ให้ลองถามเหตุผลที่พวกเขาต้องการสิ่งนั้น ชวนลูกให้อธิบาย ข้อดีข้อเสีย และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มุมมองของพวกเขาอาจทำให้คุณเข้าใจเขามากขึ้น

จากตัวอย่างที่ลูกขออยู่ดึกเพื่อทำกิจกรรมที่โรงเรียน เมื่อขอเหตุผล พ่อแม่อาจได้คำตอบจากลูกเช่น

ลูกเข้าใจว่ามันดึก แต่มันเป็นงานครั้งสุดท้ายก่อนส่งแล้ว มันสำคัญกับลูกและทีมมาก เขาจะตั้งนาฬิกาปลุกและตื่นเองตอนเช้าวันรุ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ลูกจะได้เรียนรู้และเข้าใจผลที่จะตามมาและรับผิดชอบผลของการตัดสินใจจากการคิดวิเคราะห์ของเขาเอง

2. เปิดโอกาสให้ลูกพบกับประสบการณ์และการศึกษาใหม่ๆบ้าง

ชีวิตที่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและกิจวัตรที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้สอนลูกให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ให้ลูกมีโอกาสทำกิจกรรมใหม่ๆ ออกไปเที่ยวหรือทดลองทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน

3. ขอความคิดเห็นจากลูกเสมอ

ลูกของคุณจะรู้สึกเป็นคนสำคัญ มีพลัง เคารพ และเชื่อถือคุณ หากคุณถามความคิดเห็นของพวกเขาบ่อยๆ เริ่มได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆหรือแม้จะเป็นเรื่องใหญ่ ลูกจะได้ฝึกฝนทักษะในสถานการณ์ใหม่ๆ

4. อย่าตำหนิปัญหาของพวกเขา

การแก้ไขปัญหาและข้อขัดแย้งสอนให้ลูกมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ลองปล่อยให้ลูกแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและเรียนรู้จากความขัดแย้ง โดยที่ยังอยู่ในสายตาของคุณ ถือว่าเป็นการฝึกฝนตัวเค้าเอง อย่างไรเสียวันนึงเค้าก็ต้องเผชิญสิ่งนี้

5. ถามลูกว่า “ใครเป็นผู้พูด” จะช่วยให้เขาคิดคำนึงถึงอีกด้านหนึ่งของเรื่องราว

อธิบายให้ลูกฟังว่า:

  • มีมากกว่าหนึ่งด้านของเรื่องราวเสมอ
  • มันเป็นเรื่องปกติที่จะตั้งคำถาม
  • หากมีสิ่งใดที่รู้สึกไม่ถูกต้องหรือทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ให้เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง

ความคิดเห็นของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้

การคิดวิเคราะห์เป็นการเปิดใจรับความคิดใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นตามข้อมูลใหม่ๆ ส่งเสริมให้ลูกแก้ไขปัญหาในวิธีใหม่ๆ และเข้าใจว่าเราทุกคนมีพื้นความรู้ วัฒนธรรม และตระหนักในความจริงที่แตกต่างไม่เท่ากัน

ข้อคิดสุดท้ายเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกให้เป็นนักคิดวิเคราะห์

เคล็ดลับง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างลูกที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ นั่นคือการฝึกนิสัยให้ลูก “อธิบายเหตุผล” แทนที่จะปฏิเสธพวกเขาทันที

โสกราติสคงจะภูมิใจหากรู้ว่าพ่อแม่กำลังสอนลูกให้เป็นคนที่ช่างสงสัย แข็งแกร่ง และรู้จักตัวเอง

Categories
Posts

แถบเมอบิอุส: มหัศจรรย์ทางคณิตศาสตร์

แถบกระดาษเมอบิอุสถึงแม้จะมีสองด้าน แต่มีเพียงหนึ่งพื้นผิวเท่านั้น มดที่คลานไปตามพื้นผิวนี้ จะสามารถคลานครอบคลุมทั้งสองด้านของกระดาษได้ ด้วยการเคลื่อนที่ต่อเนื่องโดยไม่ข้ามขอบใดๆ

แถบเมอบิอุส (Möbius bands) ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันในศตวรรษที่ 19 ชื่อ ออกัส เมอบิอุส เป็นรูปทรงทางเรขาคณิตที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง สามารถสร้างได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที โดยการบิดแถบกระดาษให้หมุน 180 องศา แล้วเชื่อมปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน รูปทรงที่เกิดขึ้นมีคุณสมบัติที่คาดไม่ถึงและน่าทึ่ง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับรูปทรงทางเรขาคณิตที่ซับซ้อน

ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่สร้างสรรค์อย่างมากสำหรับคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาใหม่ที่น่าตื่นเต้นอย่างทอพอโลยี (Topology) ได้ก่อให้เกิดรูปทรงทางเรขาคณิตใหม่ๆ มากมาย นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน รวมถึง เมอบิอุส และ โยฮันน์ ลิสติง ก็เป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันนี้ ในปี 1858 ทั้งสองคนได้ศึกษาแถบกระดาษที่บิดนี้อย่างอิสระ

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แถบเมอบิอุสจะมีเพียงหนึ่งพื้นผิวเท่านั้น มดที่คลานไปตามพื้นผิวนี้จะสามารถคลานครอบคลุมทั้งสอง “ด้าน” ของกระดาษได้ด้วยการเคลื่อนที่ต่อเนื่องโดยไม่ข้ามขอบใดๆ คุณลักษณะนี้ทำให้แถบเมอบิอุสเป็นตัวอย่างคลาสสิกของพื้นผิว “ไม่กำหนดทิศทาง” (nonorientable) ในเรขาคณิต โดยพื้นฐานแล้วเมื่อคุณลากนิ้วไปรอบๆ แถบทั้งหมด คุณจะพบว่าด้านซ้ายและด้านขวาของกระดาษจะสลับกัน

รูปทรงของแถบเมอบิอุสบางครั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ในการเคลื่อนไหวของอนุภาคที่มีประจุแม่เหล็กภายในแถบรังสีแวนอัลเลนที่ล้อมรอบโลก และในโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนบางชนิด คุณสมบัติของมันยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ในต้นศตวรรษที่ 20 รูปทรงแถบเมอบิอุสถูกใช้ในเทปบันทึกเสียงแบบวนซ้ำเพื่อเพิ่มเวลาในการเล่นเป็นสองเท่า นอกจากนี้ยังมีรถไฟเหาะแถบเมอบิอุส เช่น แกรนด์ เนชันแนล ที่แบล็คพูล เพลเชอร์ บีช ทางตอนเหนือของอังกฤษ

รูปทรงของแถบเมอบิอุสยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินและสถาปนิก ศิลปินชาวดัตช์ เอ็ม.ซี. เอเชอร์ สร้างภาพแกะไม้ของมดที่ลาดตระเวนไปตามรูปทรงนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อาคารแถบเมอบิอุสที่น่าประทับใจกำลังถูกสร้างขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากแสงอาทิตย์ รูปทรงนี้ยังถูกใช้ในสัญลักษณ์สากลสำหรับการรีไซเคิล และถูกแนะนำในสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับอินฟินิตี้ (∞) ซึ่งสะท้อนภาพของความเป็นนิรันดร์ในโมเสกโรมันโบราณ


แหล่งข้อมูล
https://simple.wikipedia.org/wiki/M%C3%B6bius_strip
https://simanaitissays.com/2013/03/19/doing-the-mobius-strip/

#คณิตศาสตร์ #afterschool #creativemath

Categories
Posts

ประโยชน์ 5 ข้อของค่ายคณิตศาสตร์ Math Camp

Math Camp: Benefits Beyond the Classroom

#ค่ายคณิตศาสตร์ ดีอย่างไร?

การปิดเทอมฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนหลายคน อาจไม่ได้ฝึกฝนทักษะ จึงอาจทำให้สูญเสียความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ไป ค่ายคณิตศาสตร์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ปกครอง ที่ช่วยให้เด็กๆรักษาความเฉียบแหลมทางความคิด ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้นักเรียนลืมความรู้ที่ได้เรียนมา สนุกสนานและน่าดึงดูดใจ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างทักษะใหม่ๆที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในในอนาคต และสร้างเจตคติที่ดีต่อไปในการเรียนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนอีกด้วย

เราพอจะสรุปประโยชน์ 5 ข้อของค่ายคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

1. การเรียนรู้ที่สนุก มีชีวิตชีวา และไม่เหมือนใคร (Learning is fun)

ค่ายคณิตศาสตร์ ไม่เหมือนกับการเรียนปกติในห้องเรียน นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมแก้ปัญหาในกิจกรรมที่น่าสนใจและเกมที่ท้าทาย ซึ่งทำให้นักเรียนรู้สึกว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและน่าตื่นเต้น ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์จะนำพานักเรียนเข้าสู่โลกของคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหาคณิตที่แสนสนุกและการทดลองที่น่าทึ่ง

2. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิเคราะห์ (Enhance problem-solving and analytical thinking skills)

นักเรียนจะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและฝึก #การคิดเชิงวิเคราะห์ อภิปรายหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญใน #การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ในอนาคต การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาในค่ายจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ และสามารถรับมือกับความท้าทายได้ดีขึ้น

3. การสร้างมิตรภาพและทักษะทางสังคม (Develop social skills)

ในค่ายคณิตศาสตร์ CMS นักเรียนจะได้พบกับเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจและรักคณิตศาสตร์เหมือนกัน กิจกรรมที่ต้องทำงานร่วมกันจะช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมและการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต

4. การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning through hands-on experience)

ค่ายคณิตศาสตร์ CMS เน้น #การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ นักเรียนจะได้ทดลองสร้างชิ้นงาน และทำกิจกรรมที่ช่วยให้เข้าใจคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำนี้จะช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเห็นประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น

5. เสริมสร้างความมั่นใจและความสำเร็จ (Build confidence, sparks a passion)

การเข้าร่วมค่ายคณิตศาสตร์ CMS จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองของนักเรียน นักเรียนจะได้รับการชื่นชมในความสำเร็จของแต่ละกิจกรรม และการสนับสนุนจากครูผู้เชี่ยวชาญ และจะได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิดที่แตกต่าง และประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ท้าทาย

รายละเอียดค่ายคณิตศาสตร์ CMS

CMS Wonderful Math Camp เป็นค่ายคณิตศาสตร์ฝึกฝนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่เด็กๆได้ฝึกคิด ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ฝึกการสื่อสาร การร่วมมือกันทำงานเป็นทีม เพื่อนำทักษะคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตจริง ทำให้เด็กๆมั่นใจ และรักคณิตศาสตร์

ลงทะเบียนวันนี้!

โอกาสที่ดีในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ กับเพื่อน ๆ ในค่ายคณิตศาสตร์ CMS วันนี้ และเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ที่สนุกและท้าทายต่อเนื่องตลอดสัปดาห์

#AfterSchoolMath #MathEnrichment #MathSuccess #LoveMath